วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ลีลาหมากแก๊บ

หมากกั๊บแก้บ(กรับ)  เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไม้ผิวเรียบยาวประมาณ 4-6 นิ้ว
2. กั๊บแก้บไม้ยาว เป็นไม้ผิวเรียบมีการหยักร่องฟันปลา เพื่อขูดกันให้เกิดเสียง 

การเล่นหมากกั๊บแก้บนั้น สามารถเล่นได้ทุกโอกาสที่มีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน  และผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะแต่งกายเหมือนชาวอีสานโบราณ คือนุ่งผ้าเตี่ยวมีการสักลวดลายบนร่างกาย ปัจจุบันไม่นิยมการสัก จึงมักจะใช้สีเขียนลวดลายขึ้นแทน เช่นลายเสือผงาด ลายหนุมานถวายแหวน ลายนกอินทรี ลายมอม ลายสิงห์ เป็นต้น

ระบำอัปสรา


ระบำอัปสรา (Apsara Dance) เป็นการแสดงที่ถือกำเนิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยเจ้าหญิงบุปผาเทวี พระราชธิดาในเจ้านโรดมสีหนุ เพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัด แต่กลายมาเป็นที่จดจำและเป็นระบำขวัญใจชาวพม่า ด้วยเครื่องประดับศีรษะและท่วงท่าร่ายรำ อันเป็นเอกลักษณ์ที่ถอดแบบมาจากรูปสลักหินนางอัปสราในปราสาทนครวัด ประหนึ่งทำให้นางอัปสราซึ่งเป็นรูปสลักหินนับพันปีมีชีวิตขึ้นมาผ่านการแสดงนี้


    สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรืองพระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้ ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย
นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์

     ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง


    

    “ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง  เกิดจากแนวความคิดสร้างสรรค์ ของอาจารย์เฉลย ศุขวณิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับภาพจำหลักของนางอัปสร อันเป็นสถาปัตยกรรมศิลปขอมบายนตอนปลายต่อกับนครวัดตอนต้น ที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเขมรกล่อมลูกและเขมรชมดงจากของเดิมมาปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้ท่ารำของนางอัปสรที่ถือดอกบัวเพื่อถวายบูชา ณ ศาสนสถานแห่งนี้ นางอัปสรเป็นภาพจำหลักอันสวยงามที่มักจะพบเห็นอยู่ ณ ปราสาทแบบขอม โดยเฉพาะที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อยงดงาม ตรึงตา ตรึงใจ ผู้ได้พบเห็นการแสดงนี้จึงเกิดขึ้นจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ที่ต้องการถ่ายทอดความงดงามของนางอัปสรจากแผ่นศิลาสู่สีสันของท่ารำอันอ่อนช้อย วิจิตรบรรจง ความงามทางสุนทรียะเหล่านี้ทำลายกำแพงขวางกั้นทางวัฒนธรรม คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเมื่อได้ชมก็เห็นว่างามหลาย ลักษณะการแสดงออกของตัวละครเขมรนั้นบางทีก็ดูเป็นโบราณกว่าของไทย เนื่องจากสังคมเขมรทุกวันนี้ยังไม่มีความเจริญทางวัตถุมากเหมือนไทยในปัจจุบัน ดังนั้นจึงรักษาอารมณ์คนโบราณได้ดีกว่า



อ้างอิง

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

dance

MODERN DANCE คือ การสืบทอดทางการเปลี่ยนแปลงที่ไดพัฒนาการและเป็นที่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ และเป็นศิลปะการเต้นทางตะวันตก 

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ดาวเทียม




อวกาศ หมายถึงพื้นที่บนท้องฟ้าเหนือพื้นโลกขึ้นไป 200 กิโลเมตร (อ้างอิงจาก ESA : European Space Agency) ซึ่งพ้นจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกของเราเอาไว้ครับ
ในอวกาศไม่มีอากาศที่สามารถกระเจิงแสงอาทิตย์ (Scattering of light) ให้เรามองเห็นเป็นสีน้ำเงินเหมือนในเขตบรรยากาศของโลกได้ ในอวกาศนั้นจึงมืดมิดเป็นสีดำที่เต็มไปด้วยแสงจากดาวฤกษ์นับล้าน ๆ ดวงในเอกภพ สภาพสุญญากาศในอวกาศทำให้เราไม่สามารถพูดคุยกันได้ เพราะว่าคลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางในสุญญากาศได้